กองทุนประกันสังคม ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39...
สาระน่ารู้ !!! ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ... http://winne.ws/n22565
สาระน่ารู้ ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39
ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ 432 บาท
(คำนวณจากฐานค่าจ้างเดือนละ 4,800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน)
สิทธิประโยชน์ มาตรา 39 มีอะไรบ้าง
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต
คุณสมบัติของผู้ประกันตน
1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
อย่าลืม
สมัครมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง เท่านั้น !
ง่ายๆ เพียงยื่นใบสมัคร (แบบ สปส. 1-20) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
การส่งเงินสมทบตรงเวลา
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน
นำส่งเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ทางธนาคารกรุงศรี กรุงไทย ธนชาต กสิกร ไทยพาณิชย์ ทหารไทย กรุงเทพ หรือช่องทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคาร ไปรษณีย์ Cenpay หรือสำนักงานประกันสังคม
เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ
1.ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
2. ลาออก
3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
4. ตาย
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)
ลดหย่อนภาษีได้
ผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถนำเงินที่จ่ายให้แก่ประกันสังคมในปีนั้น ยื่นหักลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคม เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองให้
*
ที่มา https://www.winnews.tv/news/22565
*
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น