วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

❉คุณูปการของพระมหาเถระ ผู้มุ่งเน้นดำรงงานพระพุทธศาสนาทั้งวิปัสสนาธุระและคันถธุระ


ประวัติพระมหาเถระของไทยรูปหนึ่ง ที่ท่านมีความกล้าหาญในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง ทุ่มเท และด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีวิสัยทัศน์ สนับสุนนด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระเณรที่ตั้งใจศึกษาซึ่งเดินทางมาจากทั่วประเทศ รวมทั้งเน้นในเรื่องของการปฏิบัติธรรม  การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีกิจกรรมการอบรมเทศน์สอนทั้งพระและโยมสาธุชนอย่างตลอดต่อเนื่อง ท่านมองว่า ทั้งปริยัติและปฏิบัติ มีความสำคัญทั้งสองอย่าง ต้องควบคู่กันไป เพื่อเราจะได้อยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง กล่าวให้ชัดขึ้น ปริยัติเปรียบเหมือนเข็มทิศหรือแผนที่สำหรับให้ผู้จะปฏิบัติดำเนินไปในเส้นทางที่ถูกต้องนั่นเอง




@www.mahathera.onab.go.th/index.php?url=maha&id=14
พระมหาเถระรูปนี้ คือพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

ประวัติโดยย่อ

พระพรหมดิลก มีนามเดิม เอื้อน นามสกุล กลิ่นสาลี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ณ บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ วัดมหาพล ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจ้าอธิการพัฒน์ ติสฺสสุวณฺโณ วัดปรีดาราม ตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคต โฆสิโต วัดมหาพล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดมนครกิจ (วาส สุนฺทโร) วัดตะโหนด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

@http://www.lokwannee.com
วิทยฐานะ

พ.ศ. 2523 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค

พ.ศ. 2526 ปริญญาโท (สาขาบาลีและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา) ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย

พ.ศ. 2529 ปริญญาเอก (สาขาบาลีและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา) ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย

งานปกครอง

พ.ศ. 2530 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามพระยา

พ.ศ. 2533 เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

พ.ศ. 2536 เป็นรองเจ้าคณะภาค 1 (กรุงเทพมหานคร – นนทบุรี – ปทุมธานี – สมุทรปราการ)

พ.ศ. 2537 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2539 เป็นเจ้าอาวาสวัดสามพระยา

พ.ศ. 2545 เป็นเจ้าคณะภาค 14 (นครปฐม – สุพรรณบุรี – กาญจนบุรี – สมุทรสาคร)

พ.ศ. 2553 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ. 2556 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“การเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก

  กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท. [กิด-โฉ, พุด-ทา-นะ-มุบ-ปา-โท] “การเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)     คำว่า ผู้รู้ ในที่นี้หมายถึ...